ตัวช่วยใหม่ของวงการแพทย์ Digital Health 

ตัวช่วยใหม่ของวงการแพทย์ Digital Health 

สถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปจากการะบาดของ COVID – 19 ส่งผลให้รูปแบบการดำเนินชีวิตปกติของผู้คนเปลี่ยนตามไปด้วย เมื่อปัจจุบันมีคนไข้ที่ไม่อยากแบกรับความเสี่ยงในการเดินทางมาโรงพยาบาลมากขึ้น และอาจมีบางกลุ่มที่ไม่สามารถเดินทางมาโรงพยาบาลได้เช่นเดิม Digital Health จึงเป็นมาตรฐานการบริการรูปแบบใหม่ที่เข้ามายกระดับการให้บริการทางการแพทย์ให้ตอบโจทย์ผู้ใช้บริการสอดรับกับยุค New Normal

เมื่อโลกกำลังหมุนไปอย่างรวดเร็วเกินกว่าที่คาดไว้ ความเปลี่ยนแปลง และความท้าทายจากวิกฤตต่าง ๆ กลายเป็นตัวเร่งให้หลายธุรกิจต้องปรับเปลี่ยนเพื่อให้สามารถดำเนินต่อไปได้อย่างยั่งยืน ‘ธุรกิจโรงพยาบาลเอกชน’  นับเป็นอีกธุรกิจหนึ่งที่จำเป็นต้องปรับตัวอย่างหนักเพื่อฝ่ามรสุมแห่งความท้าทายในช่วงที่ผ่านมา

Digital Health หรือ Digital Health Ecosystem 

ก็คือ การนำเทคโนโลยี  Digital Health และนวัตกรรมเข้ามาเป็นส่วนสำคัญในการยกระดับการให้บริการทางการแพทย์อย่างครอบคลุมทุกกระบวนการ ช่วยลดความแออัด และระยะเวลารอคอยในโรงพยาบาล โดยเป็นการอาศัยความร่วมมือจากหน่วยงาน หรือองค์กรต่าง ๆ ตามความเชี่ยวชาญ

นอกเหนือไปจากแพทย์ และบุคลากรในโรงพยาบาล เช่น กลุ่มสตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยี, แหล่งความรู้อย่างมหาวิทยาลัย หรือศูนย์วิจัยต่าง ๆ ร่วมกับกลุ่มนายทุน และองค์กรภาครัฐ ภาคเอกชน แต่เหนือสิ่งอื่นใดปัจจัยที่คาดไม่ถึงอย่างการระบาดของ COVID-19 ก็เป็นอีกแรงขับเคลื่อนสำคัญที่ทำให้ Digital Health ได้รับการพัฒนา

และถูกนำไปใช้จริง การนำนวัตกรรม และเทคโนโลยีอันชาญฉลาดเข้ามาเป็นเครื่องมือเพื่อยกระดับการให้บริการทางการแพทย์ จะช่วยเสริมประสิทธิภาพการบริการ และการรักษา โดยมีเป้าหมายในการมอบความสะดวกสบาย คล่องตัวแก่ผู้เข้ารับบริการ ครอบคลุมทุกรูปแบบการรักษาด้วยการวินิจฉัยที่แม่นยำที่สุดนั่นเอง

ยุคเทคโนโลยีในปี 2021 นี้ นวัตกรรมด้านสุขภาพหรือที่เรียกอีกอย่างว่า Digital Health จะนำทุกเทรนด์เทคโนโลยีอย่างชัดเจน โดยคาดการณ์ว่าพวกอุปกรณ์เชื่อมต่อเพื่อวัดสุขภาพด้านต่าง ๆ จะเติบโตขึ้นถึง 34% ในปีนี้ และจะเปลี่ยนหน้าตาให้รองรับไลฟ์สไตล์มากขึ้น ขณะที่วงการแพทย์ก็จะมีการนำเทคโนโลยีที่ช่วยดูแลผู้ป่วยทางไกลมาใช้มากขึ้น นับตั้งแต่การใช้หุ่นยนต์และ AI มาช่วยงานอย่างการวินิจฉัยอาการของผู้ป่วยหรือปรับใช้เป็นบุรุษพยาบาลเพื่อหลีกเลี่ยงการสัมผัส

การใช้ VR มาช่วยในการพบแพทย์ผ่านจอเพื่อสร้างประสบการณ์การพบแพทย์จริง และอุปกรณ์เสริมต่าง ๆ ในการตรวจ ที่ทำให้หมอตรวจรักษาได้ละเอียดมากขึ้นกว่าแค่ให้คำปรึกษาแบบสนทนา นอกจากนี้ องค์กรสุขภาพต่าง ๆ ก็ต้องเปลี่ยนไปใช้ระบบ Cloud และต้องคิดวางแผนถึงโครงสร้างต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ความปลอดภัยหรือประสิทธิภาพในอนาคตต่อไป

ขอบคุณภาพ :  https://www.thaihealth.or.th/

#ข่าวเทคโนโลยีดิจิทัลล่าสุด #ข่าวเทคโนโลยี #Digital Health