รวมความเชื่อผิด ๆ เกี่ยวกับมือถือ ที่หลายคนได้ยินมาจริงเท็จแค่ไหน

รวมความเชื่อผิด ๆ เกี่ยวกับมือถือ ที่หลายคนได้ยินมาจริงเท็จแค่ไหน

ต้องยอมรับว่าในปัจจุบันมือถือได้เข้ามามีบทบาทเป็นอย่างมากต่อชีวิตของคนเรา ซึ่งสามารถตอบโจทย์ได้แทบทุกอย่าง ใช้งานง่ายดายเพียงปลายนิ้วสัมผัส ไม่ว่าจะเป็น แชท การทำธุรกรรมทางการเงิน อ่านข่าว เช็คเมล จดบันทึก ทำตารางงาน รวมถึงแอปและฟังก์ชันอื่น ๆ อีกมากมายให้เลือกใช้กันตามไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตของแต่ละคน แต่ยังมีความเชื่อผิด ๆ เกี่ยวกับมือถือ ที่บางคนยังยึดถือและปฏิบัติตามกันมาอยู่เรื่อย ๆ จะมีอะไรบ้าง ข้อเท็จจริงเป็นอย่างไรไปดูกัน

ความเชื่อที่ไม่ถูกต้อง และหลายคนยังไม่เข้าใจเกี่ยวกับมือถือ

ปรับลดแสงหน้าจอ จะช่วยถนอมสายตามกกขึ้น หลายคนคงเคยได้ยินเรื่องนี้มาไม่มากก็น้อย ว่าการเปิด Night Mode จะช่วยให้ตาไม่ทำงานหนักจนเกินไป แต่ทางด้านผู้เชี่ยวชาญได้ออกมายืนยันแล้วว่า เป็นความเชื่อที่ผิด ความจริงแล้วการลดแสงหน้าจอลง จะทำให้ระบบประสาทตาจะยิ่งทำงานหนักและตึงเครียดมากขึ้น เนื่องจากดวงตาต้องพยายามปรับโฟกัสภาพ ทำให้รู้สึกปวดหัวได้ ทั้งนี้ที่ถูกต้องควรปรับให้มีปริมาณแสงใกล้เคียงกับสภาพแวดล้อมที่เราอยู่หรือตั้งค่าการปรับแบบอัตโนมัติจะดีที่สุด

ชาร์จแบตไว้ทั้งคืน อายุการใช้งานจะสั้นลง ความเชื่อผิด ๆ เกี่ยวกับมือถือที่ได้ยินกันอยู่บ่อย ๆ ซึ่งความจริงคือ สมาร์ทโฟนได้มีการพัฒนาให้ตัวเครื่องรู้ทันทีเมื่อชาร์จเต็ม ระบบจะทำการหยุดรับกระแสไฟฟ้าอัตโนมัติ โดยที่ไม่ต้องคอยเฝ้าระวังแต่อย่างใด แต่หากอยากยืดอายุการใช้งานจริง ๆ ผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่าอย่าปล่อยให้มือถือลดลงจนเหลือ 0 เปอร์เซ็นต์บ่อย ๆ เพียงเท่านี้ก็มีแบตไว้ใช้งานนาน ๆ แล้ว

ปิดแอป เมื่อไม่ใช้จะช่วยประหยัดพลังงาน ในเรื่องนี้ทีมพัฒนาทั้ง google และ Apple ได้ออกมายืนยันแล้วว่า การปิดแอป ไม่ได้ช่วยให้การใช้งานแบตเตอรี่ยาวนานขึ้น ในทางตรงกันข้ามอาจจะทำให้แย่ลง เพราะเมื่อเปิดแอปขึ้นมาอีกครั้ง จะทำให้กินพลังงานมากกว่าเดิม โดยผู้เชี่ยวชาญได้แนะนำว่าไม่ควรไปยุ่ง ปล่อยให้ระบบบริหารจัดการตัวของมันเองจะดีกว่า

กล้องที่มีเมกาพิกเซลสูง จะได้คุณภาพที่ดี แต่ก็ไม่ใช่เสมอไป เพราะขึ้นอยู่กับหลาย ๆ ปัจจัย ทั้งในเรื่องของรู้รับแสง เซ็นเซอร์ รวมถึงเลนส์ของกล้องด้วย ในส่วนของพิกเซลนั้นจะเกี่ยวข้องในเรื่องของความละเอียด และขนาดของภาพ เมื่อซูมเข้าไปแล้วภาพไม่มีนอยส์ หรือแตกเท่านั้น และที่สำคัญยิ่งมีคุณภาพสูง ๆ ขนาดไฟล์ก็ใหญ่ขึ้นทำให้เปลืองพื้นที่จัดเก็บเกินความจำเป็น ดังนั้นควรพิจารณาถึงใช้งานหลักของเราจะดีกว่าว่าต้องการใช้แบบไหน ทำอะไร จะเหมาะสมที่สุด

ถ้ามือถือตกน้ำให้รีบเอาไปใส่ถังข้าวสาร หลายคนคงเคยได้ยินความเชื่อผิด ๆ เกี่ยวกับมือถือแบบนี้กันมานานแล้ว แม้ว่าจะดูเหมือนเป็นวิธีที่ทำได้ง่าย น่าเชื่อถือ และประหยัด ซึ่งวิธีนี้ก็ไม่ได้ผิดไปเสียทีเดียว แต่หากจะให้ปลอดภัยควรใช้สารดูดความชื้นจะสะดวกกว่าอย่างแน่นอน 

6. อย่าเก็บบัตรเครดิตไว้ใกล้มือถือ เชื่อว่ามีบางคนคงเคยได้ยินกันมาบ้างถึงสนามแม่เหล็กจากมือถือจะไปลบสภาพของแม่เหล็กบนแถบด้านหลังของบัตรเครดิต ถึงแม้ว่าจะปล่อยออกมาจริงแต่ก็ไม่มากและรุนแรงเพียงพอที่จะมีผลต่อบัตรต่าง ๆ ได้ ต่อให้เอามาวางทับกันไว้ก็ตาม ส่วนที่มีผลจริง ๆ คือแม่เหล็กแบบติดตู้เย็นต่างหากที่เป็นตัวการสำคัญ

เคลื่อนแม่เหล็กจากมือถือทำให้เกิดโรคมะเร็ง กรณีนี้องค์การอนามัยโลกได้แถลงข้อมูลอย่างชัดเจนว่า ตั้งแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานที่มีความเป็นไปได้ว่าผู้ที่ใช้โทรศัพท์บ่อย ๆ หรือวางไว้บนหัวเตียงจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพของพวกเขาเลยแม้แต่คนเดียว

คงพอจะรู้แล้วว่าความเชื่อผิด ๆ เกี่ยวกับมือถือส่วนใหญ่นั้นเกิดมาจากคำบอกเล่าต่อ ๆ กันมาโดยไม่มีแหล่งข้อมูลที่ยืนยันชัดเจนว่าจริงหรือไม่ แต่ในปัจจุบันเทคโนโลยีต่าง ๆ ได้ถูกพัฒนาให้ก้าวล้ำไปเป็นอย่างมาก ดังนั้นผู้ใช้งานมั่นใจได้ว่าสมาร์ทโฟนที่วางขายอยู่ทั่วไปตามท้องตลาดนั้นมีคุณภาพ ปลอดภัย ไร้กังวล หากมีข้อสงสัยว่าเป็นข้อมูลเท็จควรสอบถามจากพนักงานขายหรือผู้ผลิตจะดีที่สุด

เครดิตภาพ : iotech.com / sanook.com / affde.com

#ข่าวเทคโนโลยีดิจิทัลล่าสุด #ข่าวเทคโนโลยี #รวมความเชื่อผิดๆเกี่ยวกับมือถือ